แนะนำภาควิชา
Department introduction
ภาควิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม (Department of Instrumentation and Control Engineering) ได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในองค์กร โดยรวม 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาวิศกรรมการวัดคุม วิศวกรรมอัตโนมัติ วิศวกรรมระบบควบคุมและวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์เข้าด้วยกัน และบูรณาการระบบการเรียนการสอนความรู้หลากหลายสาขาวิชาเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิศวกรรมไฟฟ้า เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์และระบบควบคุม มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความสามารถทั้งทางด้านทักษะและปัญญาในด้านวิศวกรรมการวัด และควบคุมทางอุตสาหกรรม วิศวกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ระบบอัจฉริยะและปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ
ปัจจุบันได้เปิดทำการเรียนการสอนดังนี้
Instrumentation Engineering
วิศวกรรมการวัดคุมแห่งแรกของประเทศไทย โดยเนื้อหามุ่งเน้นงานทางด้านอุตสาหกรรม เนื้อหาหลักที่ทำการเรียนการสอนเป็นแบบบูรณาการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครื่องมือวัดเพื่อการควบคุม รวมถึงระบบควบคุมอัตโนมัติในอุตสาหกรรม ผู้ที่จบสาขานี้เป็นที่ต้องการในอุตสากรรมหลากหลายสาขา เช่น อุตสาหกรรมการผลิตปิโตเคมี น้ำมันและแก๊สธรรมชาติ อุตสาหกรรมการผลิตกระดาษ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และฮาร์ดดิส อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมการเกษตร/อาหารและอื่นๆ
Control Engineering
วิศวกรรมระบบควบคุมเป็นสหวิทยาการที่ครอบคลุมการศึกษาไม่เพียงแต่ด้านทฤษฎีระบบควบคุม แต่ยังศึกษาถึงพลวัตของระบบ ศึกษาการใช้งานอุปกรณ์วัด ศึกษาการใช้งานและการออกแบบวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ดิจิตอล ทั้งคอมพิวเตอร์ และไมโครคอนโทรเลอร์ และศึกษาการใช้งานอุปกรณ์ควบคุมและรูปแบบการควบคุมเฉพาะในทางอุตสาหกรรม
Automation Engineering
เป็นการผสมผสานระหว่างงานเชิงวิศวกรรมกับการจัดการทางด้านสารสนเทศที่มุ่งเน้นให้ ระบบสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกๆ ด้าน อาทิเช่น ต้นทุนการผลิต คุณภาพและ มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ความปลอดภัยในการทำงาน สภาวะของสิ่งแวดล้อม ความสามารถในการปรับอัตราการผลิต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมถึงการบริหารและการจัดการในอุตสาหกรรม
Mechatronic Engineering
เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ Mechatronic มาจากการผสมคำว่า Mechanics และ Electronics โดยวิศวกรจากบริษัท Yakawa Electric ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการพัฒนาโดยการนำเทคโนโลยีในสาขาวิศวกรรมด้านต่างๆ มาผสานเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว เพื่อนำผลไปพัฒนาในงานอุตสาหกรรมอย่างสมบูรณ์